วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหา : การแบ่งประเภทสื่อการสอน


สื่อการสอน

          สื่อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มี 2 ประเภท ได้แก่

            1. สื่อการศึกษา (Educational Media)  
            2. สื่อการสอน (Instructional Media)  


ความหมายและความสำคัญของสื่อการสอน

การแบ่งประเภทสื่อการสอน

การแบ่งสื่อการสอน ตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อ
การแบ่งสื่อการสอน ตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา


การแบ่งสื่อการสอน ตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ  Edgar Dale

          เดล ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็นระดับขั้น โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภทและได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุด มาสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมที่สุด เรียกว่า กรวยประสบการณ์” (Cone of Experience)  





ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย (Direct or Purposeful Experiences)
            เป็นสื่อที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ หรือ พบเห็นสิ่งนั้นจริงๆ โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การฝึกทำอาหาร การฝึกต่อวงจรไฟฟ้า 

ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived Experience)
            เป็นสื่อที่จำลองสถานการณ์ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมาให้ผู้เรียนได้เรียน อาจเป็นเพราะการเรียนจากของจริงนั้นอันตราย มีความซับซ้อน รวมทั้งมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้แบบจำลอง ของตัวอย่าง การฝึกผ่าตัดด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการณ์หรือการแสดง (Dramatized Experience)
            เป็นสื่อการสอนที่จัดเป็นการแสดงบทบาทสมมุติ หรือการแสดงละคร จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว หรือเป็นนามธรรมซึ่งยากเกินกว่าจะเข้าใจและไม่สามารถใช้ประสบการณ์จำลองได้ เช่น การละเล่นพ้นเมือง ประเพณีต่างๆ

ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) 
            เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูกาแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ เช่น การสาธิตวิธีการใช้เตาอบขนมปัง

ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)
            เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยการพาไปทัศนศึกษา หรือ ท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ผู้เรียนจะได้ความรู้จากการจดบันทึก หรือสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่นั้นๆ

ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibits)
            เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ที่ได้จัดแสดงไว้ในลักษณะของนิทรรศการ หรือการจัดป้ายนิเทศ รวมทั้งการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน เช่น การจัดป้ายนิทรรศการ การจัดแสดงผลงานนักเรียน

ขั้นที่ 7 โทรทัศน์ (Television)
            เป็นการจัดการสอนโดยใช้โทรทัศน์เป็นสื่อที่สำคัญ เป็นการสอนให้ความรู้กับผู้เรียนที่เรียนอยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน โดยอาจเป็นการถ่ายทอดสดหรือบันทึกเทปไว้ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการเห็นภาพและได้ยินเสียง

ขั้นที่ 8 ภาพยนตร์ (Motion Picture)
            เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะของภาพเคลื่อนไหวและเสียงที่บันทึกไว้ในแผ่นฟิล์ม หรือซีดีรอม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนได้เรียนรู้จากภาพและเสียง หรืออาจเป็นภาพอย่างเดียว ถ้าเป็นภาพยนตร์เงียบ

ขั้นที่ 9 แผ่นเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Still Picture)
            เป็นสื่อการสอนที่ที่ผู้เรียนสามารถสัมผัสได้เพียงด้านเดียว แต่สามารถช่วยในเรื่องของผู้เรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกได้ เพราะเป็นการเรียนรู้จากการฟัง รวมทั้งจากมองจากภาพต่างๆ

ขั้นที่ 10 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols)
            เป็นสื่อการสอนที่ใช้งานกราฟิก หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญลักษณ์ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย แต่ทั้งนี้ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาก่อนจึงจะสามารถตีความและเข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆได้ เช่น แผนภูมิ แผนสถิติ แผนที่

ขั้นที่ 11 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol)
            เป็นสื่อการสอนที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับของจริง เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งจะอยู่ในรูปของคำพูด คำบรรยาย ตัวเลข ตัวหนังสือ หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ


ตัวอย่างสื่อการสอน

การสอนภาษาอังกฤษ โครงสร้างของร่างกาย


ซิทคอมการประหยัดพลังงาน



แหล่งอ้างอิง : 
http://www.youtube.com
http://www.gotoknow.org/media/files/718527


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น