วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

แบบฝึกหัดเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

1. การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมไปสู่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีการเปลี่ยนไปอย่างไร จงอธิบาย
               
ตอบ
        การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม เป็นการเรียนจากตำราเรียนเพียงอย่างเดียว ครูเป็นคนถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นการสอนไปวันๆด้วยเนื้อหาแบบเดิม
                                การเรียนการสอนโดยใช้ทรัพยากรช่วย เป็นการเรียนการสอนแบบกระตุ้น คือ ครูและนักเรียจะต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เตรียมพร้อมรับเนื้อหาบทเรียนต่างๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว มีการจัดกิจกรรมโดยใช้สื่ออุปกรณ์ต่างๆเป็นตัวช่วย เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
                                การเรียนการสอนโดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เป็นการเรียนการสอนที่นำเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สื่อมัลติมีเดียต่างๆมาใช้ มีการจำลองสถานการณ์ สร้างเนื้อหาดิจิตอลที่ให้ผุ้เรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่น่าสนใจ และส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดีมาก

2. รูปแบบการศึกษาที่พึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งที่มีบุคคลหนึ่งได้กล่าวอย่างสนุกว่า "มีครูอยู่ 3 คน" ครูนั้นได้แก่ใครบ้าง และมีชื่อว่าอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร
               
ตอบ
        อากู๋ น้องวิกี้ และอีตูป ซึ่งหมายถึง Google, Wikipedia และ Youtube โปรแกรมทั้ง 3 นี้ เป็นที่พึ่งสำหรับนักเรียนนักศึกษาในปัจจุบันเป็นอย่างมาก รวมทั้งครูอาจารย์ด้วย ซึ่งมีประโยชน์คือ Google สามารถค้นหาข้อมูลที่เราต้องการได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลตัวอักษร รูปภาพ เอกสารต่างๆ แผนที่ แปลภาษา คิดเลข และอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีบริการเกี่ยวกับอีเมล์และธุรกิจด้วย Wikipedia กล่าวได้ว่าเป็นสารานุกรมเสรี คือมีบทความต่างๆมากมายหลายเรื่องราวให้เราได้ค้นคว้าหาความรู้ มีทั้งที่เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างชาติอื่นๆด้วย เป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์มากสำหรับการค้นหาข้อมูลในการเรียนและการทำรายงาน Youtube เป็นโปรแกรมที่รวบรวมวิดีโอไว้เป็นจำนวนมากและทุกประเภท เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ชอบเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย และในปัจจุบันนี้ยังถือว่าได้รับความนิยมมาก เพราะครูอาจารย์ได้ใช้วิดีโอเหล่านี้ในการเรียนการสอน เช่น การนำวิดีโอประมวลภาพเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มาให้นักเรียนได้ดู นักเรียนจะได้เห็นเองกับตาและเข้าใจได้ดีขึ้น การเรียนการสอนก็มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนนักเรียน นักศึกษา ก็มีโอกาสได้เข้าไปสืบค้นหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบทเรียน เข้าไปเรียนทบทวนกับวิดีโอที่ครูอาจารย์บางท่านได้บันทึกการเรียนการสอนเป็นวิดีโอเอาไว้ ทำให้เข้าใจในบทเรียนได้ดีขึ้น

3. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในลักษณะ e-Learning แบบ Real-Time แตกต่างจาก Non Real-Time อย่างไร
               
ตอบ        ผู้ใช้แบบ Real-Time สามารถโต้ตอบบทสทนากันได้ทันที เช่น การพิมพ์ข้อความ หรือ ส่งในลักษณะของเสียง โดยผ่านบริการของ Chat room ส่วน Non Real-Time อาจไม่สามารถโต้ตอบบทสนทนาได้ทันที เช่น การส่งอีเมลล์ WebBoard ข้อความหรือบทสนทนาดังกล่าว จะถูกเก็บหรือฝากไว้กับระบบบริการ โดยผู้อื่นสามารถเข้ามาตอบบทสนทนาได้ภายหลัง

4. Virtual Classroom คืออะไร
               
ตอบ        คือ ห้องเรียนเสมือนจริง หมายถึง การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียน
ในชั้นและผู้สอน

5. Asychonous Learning คือรูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในลักษณะใด
                ตอบ        รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง
ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล
(Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือ
การเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face - to - Face Instruction)

6. Hypermedia คือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาอะไร และนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
                ตอบ        สื่อหลายมิติ ซึ่งมีความสามารถเพิ่มในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

7. ให้นิสิตเขียนตารางเปรียบเทียบแนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาใน 3 ยุค

ข้อเปรียบเทียบ
แนวโน้มที่ 1
แนวโน้มที่ 2
แนวโน้มที่ 3
ลักษณะการสื่อสาร
การสื่อสารโดยใช้เสียง เพื่อสื่อสารระหว่างบุคคลสองคน
ผ่านทางโทรศัพท์
การสื่อสารโดยใช้
เสียงและภาพ ผ่านทางโทรทัศน์ โทรศัพท์
และคอมพิวเตอร์
การใช้เทคโนโลยี
แบบสื่อผสม
หรือ มัลติมีเดีย
ประสิทธิภาพ
ในการสื่อสาร
ปานกลาง
เริ่มมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิภาพสูง
ราคาของเทคโนโลยี
สูง
สูง
พัฒนาเพิ่มขึ้น
แต่ราคาถูกลง

8. ให้นิสิตสรุปประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามา 5 ข้อ
                ตอบ        1. ขยายโอกาสในการเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่มีครูไม่เพียงพอ
                                2. เปิดโอกาสให้คนได้เรียนเพิ่มขึ้น คนทำงานก็สามารถเรียนได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
                                3. สร้างแรงจูงใจในการเรียน ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน
                                4. สามารถจัดเวลาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                                5. ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านสารสนเทศเพิ่มขึ้น ได้มีโอกาสศึกษาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ บนคอมพิวเตอร์และบนเครือข่ายต่างๆ ไปพร้อมๆ กับการเรียน


9. Tablet PC คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการศึกษา และตามนโยบายของรัฐบาลได้ระบุว่าจะแจกให้กับนักเรียนนั้นนิสิตคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด
                ตอบ        Tablet PC คือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คประเภทหนึ่ง เพียงแต่ไม่มีคีย์บอร์ด ไม่มีเมาส์
โดยจะรับคำสั่งจากระบบสัมผัสบนหน้าจอแทน สามารถใช้งานโปรแกรมงานต่างๆและเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เหมือนกับโน้ตบุ๊คทั่วไป
                                ปัจจุบันเริ่มมีการนำ
Tablet PC มาใช้กับวงการศึกษา ด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือเรียนในแต่ละปี เป็นการลงทุนเพียงแค่ครั้งเดียว หลังจากนั้นก็สามารถใช้ Tablet PC ในการเรียนได้ตลอด สามารถเรียนรู้ รับรู้ข่าวสาร ได้ทันสมัยที่สุดและรวดเร็วที่สุด จากการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ไม่เหมือนกับหนังสือเรียนที่ไม่สามารถจะแก้ไขเรื่องราวที่พิมพ์ลงไปแล้ว ให้ทันสมัยได้ นักเรียนไม่ต้องนำสมุดและหนังสือไปเรียนเป็นจำนวนมาก เพราะเนื้อหาบทเรียน ข้อมูลทั้งหมดจะรวมอยู่เพียงเครื่องนี้เครื่องเดียว ครูและนักเรียนยังสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนงาน การบ้าน ข่าวสาร กันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้ง นักเรียนยังสามารถเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนได้ ด้วยสื่อมัลติมีเดียต่างๆ เพื่อเข้าใจในบทเรียนมาขึ้น และเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนได้อีกทางหนึ่ง
                                และตามนโยบายของรัฐบาลที่ระบุว่าจะแจกให้กับนักเรียนไทยนั้น ฉันคิดว่า ในเวลานี้ยังไม่เหมาะสม เพราะมีสาเหตุหลายประการที่ระบบการศึกษาไทยนั้นยังไม่พร้อมกับการใช้งานดังกล่าว คือ
                1. ในปัจจุบัน นักเรียนไทยมีปัญหาเรื่องของการติดเกมส์คอมพิวเตอร์ และการติดต่อสื่อสารในโลกสังคมออนไลน์ ถ้าแจก Tablet PC ให้กับนักเรียนตอนนี้ จุดประสงค์เพื่อการศึกษาก็คงคลาดเคลื่อนไป
                2. ครูและนักเรียนส่วนหนึ่ง ยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการเรียนรู้การใช้งาน Tablet PC ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ จากชั่วโมงที่ต้องสอนเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ ก็อาจกลายเป็นชั่วโมงสอนการใช้งาน Tablet PC ไป ภาษาที่มากับระบบปฏิบัติการของเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาษาอังกฤษ ก็ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้เพื่อการเรียนรู้ได้
                3. ราคา Tablet PC ในประเทศไทย ปัจจุบันนี้ ถือว่ายังค่อนข้างสูงอยู่ ถ้าหากแจกให้กับนักเรียนทุกคน โดยเริ่มตั้งแต่เด็กประถม ซึ่งเด็กบางคนอาจจะยังไม่สามารถรับผิดชอบของราคาแพงได้ อาจเกิดปัญหาการสูญหายหรือถูกลักขโมย และอีกเรื่องหนึ่งคือ ถ้า Tablet PC ของนักเรียนคนใดคนหนึ่งชำรุด หรือมีปัญหาในระหว่างภาคเรียน และฐานะครอบครัวของเด็กคนนั้นไม่สามารถที่จะหาเครื่องใหม่มาให้เด็กใช้ได้ ปัญหาก็จะเกิดขึ้นคือ เด็กไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้เหมือนเพื่อน งานที่บันทึกไว้ก็ไม่มีส่งครู ไม่มีเนื้อหาบทเรียนให้ทบทวน เสียโอกาสทางการเรียน ซึ่งไม่เหมือนกับหนังสือเรียน ที่สามารถหาซื้อใหม่ได้ในราคาที่ไม่แพงมากนัก

 10. ให้เขียนความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง Tablet PC , IPAD และ Notebook 


Tablet PC
IPAD
Notebook
ความเหมือน
- Windows XP , Windows  
   Vista , Windows 7
- โปรแกรมเวิร์ด เอ็กเซลล์
   การใช้งานอินเตอร์เน็ต
- Windows XP , Windows
   Vista , Windows 7
- โปรแกรมเวิร์ด เอ็กเซลล์
   การใช้งานอินเตอร์เน็ต
- Windows XP , Windows
   Vista , Windows 7
- โปรแกรมเวิร์ด เอ็กเซลล์
   การใช้งานอินเตอร์เน็ต
ความแตกต่าง
- ไม่มีคีย์บอร์ดและใช้
   ระบบหน้าจอสัมผัส
- ไม่มีคีย์บอร์ดและใช้ระบบ
   หน้าจอสัมผัส
- ระบบปฏิบัติการ iPhone OS
- ใช้คีย์บอร์ดและเมาส์
   ในการทำงาน

11. เครือข่ายสังคมออนไลน์คืออะไร นำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาได้หรือไม่ อย่างไร
                ตอบ        เป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีและเว็บรูปแบบใหม่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต สามารถสร้างเครือข่ายสังคมได้ โดยเขียนและอธิบายความสนใจ รวมถึงกิจกรรมที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น รวมทั้งข้อมูลส่วนตัว บทความรูปภาพผลงาน พบปะ แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือความสนใจร่วมกัน และกิจกรรมอื่นๆ รวมไปถึงเป็นแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ผู้ใช้สามารถช่วยกันสร้างเนื้อหาขึ้นได้ตามความสนใจของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคล สู่สาธารณะ หรือจำกัดสิทธิ์เฉพาะบุคคลที่ อยู่ในสังคมเสมือนของตน
                                เครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาได้ คือ อาจมีการสร้าง Website, WebBlog, WebBoard สำหรับการเรียนการสอน หรือใช้ในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เนื้อหาบทเรียน สอบถามการบ้าน ช่วยกันติวหนังสือได้ นักเรียนก็สามารถเรียนรู้ทบทวนบทเรียนอยู่ที่บ้านได้ โดยไม่ต้องออกนอกบ้าน เดินทางไปติวหนังสือกับครูหรือเพื่อนๆ ทั้งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย และปลอดภัย

12. เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะการเผยแพร่ตัวตนคืออะไร ให้ยกตัวอย่างมา 2 เครือข่าย
                ตอบ        เป็นเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับนำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ต หรือผู้ใช้สามารถเขียน blog สร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน และสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ขึ้นมาได้ ตัวอย่างเช่น hi5.com, facebook.com เป็นต้น

13. เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะการเผยแพร่ผลงานคืออะไร ให้ยกตัวอย่างมา 2 เครือข่าย
                ตอบ        เป็นเว็บไซต์ที่ใช้ในการนำเสนอผลงานของตัวเอง ผลงานของกลุ่ม ได้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ รูปภาพ หรือเสียงอาจารย์สอนที่ได้จากการบันทึกในชั้นเรียน เป็นต้น ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้เช่น YouTube.com, Yahoo VDO เป็นต้น

14. เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะกลุ่มที่มีความสนใจตรงกันคืออะไร ให้ยกตัวอย่างมา 2 เครือข่าย
                ตอบ        มีลักษณะเป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยมีแนวคิดว่า แทนที่เราจะทำ Bookmark (เหมือนกับเราคั่นหนังสือ) เว็บที่เราชอบ หรือบทความรายงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เก็บไว้ในเครื่องของเราคนเดียว สู้เรา Bookmark เก็บไว้บนเว็บจะดีกว่า เพื่อจะได้แบ่งให้เพื่อนๆ คนอื่นดูได้ด้วย และเราก็จะได้รู้ด้วยว่าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมาก เป็นที่น่าสนใจ โดยดูได้จากจำนวน
ตัวเลขที่เว็บไซต์นั้นถูก
Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ ได้แก่ Digg, Zickr เป็นต้น

15. เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะทำงานร่วมกันคืออะไร ให้ยกตัวอย่างมา 2 เครือข่าย
               
ตอบ        เป็นกลุ่ม SNS (Social Network Service) ที่เปิดให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้ามานำเสนอข้อมูล ความคิดหรือต่อยอด เรื่องราวต่างๆ ได้ ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ได้แก่ WikiPedia เป็นสารานุกรมต่อยอด ที่อนุญาตให้ใครก็ได้เข้ามาช่วยกันเขียน และแก้ไขบทความต่างๆ ได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดเป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย Google Maps สามารถสร้างแผนที่ของตัวเอง หรือแชร์แผนที่ให้คนอื่นได้ด้วย จึงทำให้มีสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ต่างๆ ถูกปักหมุดเอาไว้ พร้อมกับข้อมูลของสถานที่นั้นๆ ไว้แสดงผลจากการค้นหาได้อีกด้วย

16. Tablet มีประโยชน์อย่างไรในวงการศึกษา
                ตอบ        1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือ ตำราเรียน
                               
2. ได้ข้อมูลในหนังสือ ตำราเรียน ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพราะสามารถอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
                                3. นักเรียน นักศึกษา ไม่ต้องถือหนังสือเรียนจำนวนมากไปเรียนให้เป็นภาระ
                               
4. สามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้สะดวกรวดเร็วในขณะเรียน
                               
5. เรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียได้หลากหลาย
                               
6. ครูและนักเรียน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก รวดเร็ว ทั้งเรื่องงาน การบ้าน และข้อมูลข่าวสารต่างๆ
                               
7.
เพิ่มความสนใจ สร้างแรงจูงใจในการเรียนได้มากขึ้น


ทัศนศึกษาที่หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก




แบบฝึกหัดงานกลุ่ม
ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก


1. แหล่งการเรียนรู้หมายถึงอะไร
                ตอบ       แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ได้ด้วยตนเอง จากการได้คิดเอง ปฏิบัติเอง และสร้างความรู้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัยและต่อเนื่อง จนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และสุดท้ายก็เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็นศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ และเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ

2. หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เป็นแหล่งการเรียนรู้ เพราะอะไร
                ตอบ       หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เป็นแหล่งการเรียนรู้ เพราะเป็นแหล่งที่ให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นแหล่งเชื่อมโยงให้สถานศึกษาและชุมชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ทำให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแก่บุตรหลานของตนเอง และเป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดความสนุกสนานและมีความสนใจที่จะเรียนรู้ไม่เกิดความเบื่อหน่าย  อีกทั้งทำให้ผู้เรียนได้รับการปลูกฝังให้รู้จักและรักท้องถิ่นของตนเอง มองเห็นคุณค่าและตระหนักถึงปัญหาในชุมชนของตน พร้อมที่จะเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอีกด้วย

3. หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเหมาะกับการสอนกลุ่มสาระใด
                ตอบ       1.กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
                                2.กลุ่มสาระศิลปะ
                                3.กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
                                4.กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
                                5.กลุ่มสาระภาษาไทย

4. แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกนำเสนอรายละเอียดของเนื้อหาใดบ้าง
                ตอบ       1.แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี
                               2.แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประทศไทย ที่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุ ประมาณ4,000-3,500 ปีมาแล้ว พึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลัก และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานกว่า 400 ปี และจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบอาจกล่าวได้ว่า โคกพนมดีเป็นจุดศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนที่อยู่ใกล้ทะเล 
                                     3.บริเวณภาคตะวันออกพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 10,000 ปีมาก่อนซึ่งแบ่งประเภทตามลักษณะภูมิประเทศในการตั้งถิ้นฐานได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
- บริเวณเพิงผาและถ้ำ สันนิฐานว่าเป็นกลุ่มชนที่ดำรงชีพด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์
- ที่ราบเชิงเขา สันนิฐานว่าเป็นกลุ่มชนที่ขยายตัวลงมาจากกลุ่มแรก รู้จักทำมาหากินแบบเกษตรกรรมระดับหมู่บ้าน
- บริเวณเนินดินที่ล้อมรอบด้วยป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง ในสมัยโบราณพื้นที่บางส่วนของภาคตะวันออกเป็นทะเล ชุมชนพึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลัก

5. วิถีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินตะวันออกในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยามประเทศเป็นอย่างไร
                ตอบ


วัฒนธรรมทวารวดี

จากบริเวณชายฝั่งตะวันออกไปจนถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงขึ้นมานับเป็นแหล่งอารยธรรมทวารวดีที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ได้มีการค้นพบเมืองโบราณจำนวนมาก เช่น เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี เมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ไปจนถึงเขตจังหวัดนครนายก ได้แก่ เมืองโบราณดงละคร ซึ่งน่าจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับเมืองทวารวดีในภาคกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ส่วนเหนือปราจีนขึ้นไปแถบอุบลราชธานีเป็นจุดเชื่อมต่อกับทวารวดีในภาคอีสานและเขมรโบราณ หลักฐานของภาคตะวันออกที่แสดงให้เห็นถึงศิลปกรรมยุคแรกเริ่มในสมัยทวารวดี ได้แก่ รอยพระพุทธบาทคู่และพระพุทธรูปหินทรายนาคปรก ในเขตเมืองโบราณศรีมโหสถ เป็นต้น
ดินแดนโพ้นทะเล
จากหลักฐานในการขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำ บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี จนถึงตราด ได้พบแหล่งเรือจมน้ำเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าตลอดแนวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก คือ เส้นทางการค้าทางทะเลที่สำคัญ โดยเฉพาะการค้ากับจีนและญี่ปุ่นในสมัยสุโขทัยและอยุธยา เส้นทางการค้าทางทะเลนี้แบ่งออกเป็น 2 เส้นทางคือ เส้นทางอ้อมแหลมญวนแล้วขึ้นไปจีนและญี่ปุ่น ส่วนอีกเส้นทางจะมุ่งไปทางภาคใต้โดยเลียบชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายชิ้นที่มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น เทวรูปนารายณ์สวมหมวกทรงกระบอก เป็นต้น โบราณวัตถุที่พบจากแหล่งเรือจมส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่บรรทุกอยู่ในเรือสินค้า เช่น เหรียญจีน ภาชนะเคลือบเขียวของจีน ที่ตรงกับสมัยสุโขทัยและอยุธยา ซึ่งเป็นยุคสมัยที่การค้าเจริญรุ่งเรือง
               
อาณาจักรเขมรโบราณ
ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่บริเวณภาคตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรเขมรโบราณ ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทำให้วัฒนธรรมเขมรโบราณแผ่อิทธิพลเหนือดินแดนภาคตะวันออก ดังปรากฏโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะเขมรเป็นจำนวนมาก เช่น ปราสาทหิน ทับหลัง เทวรูป และจารึกภาษาเขมรโบราณที่ปรากฏอยู่บนแท่งศิลา และวัตถุสำริด  หลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ คือ ทับหลังศิลา พบที่วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี เป็นทับหลังแบบถาลาบริวัตรในศิลปะเขมร โบราณสถานสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น


6. ให้นิสิตบันทึกภาพตัวอย่างประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามกรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale พร้อมคำอธิบาย

                ตอบ       ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามกรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale มีดังนี้ คือ
                                            1.ประสบการณ์จำลอง                                                        
                                            2.การศึกษานอกสถานที่                                                    
                                            3.นิทรรศการ                                                                           
                                            4.ภาพยนตร์                                                                         
                                            5.ภาพนิ่ง วิทยุ แผ่นเสียง                                                  
                                            6.ทัศนสัญญลักษณ์                                                            
                                            7.วจนสัญญลักษณ์                                                              
                                            8.ประสบการณ์จริง                                                                
                                            9.ตู้อันตรทัศน์

1.ประสบการณ์จำลอง

                ประสบการณ์จำลองในหอศิลปะวัฒนธรรมภาคตะวันออกนำเสนอวิถีชีวิตของชาวชองซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองของภาคตะวันออกเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและดำเนินไปอย่างผาสุข


2.การศึกษานอกสถานที่
                การศึกษานอกสถานที่เป็นการได้เปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้จากห้องเรียนสี่เหลี่ยมเป็นหอศิลปะวัฒนธรรมภาคตะวันออกเป็นการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆในภาคตะวันออกไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชาวภาคตะวันออกทำให้ได้รับความรู้แบบบูรณาการต่างๆมากมาย


3.นิทรรศการ

                นิทรรศการเป็นการจัดนิทรรศการแบบถาวรนำเสนอ 11 ชุด คือ
                      1. 
เยือนถิ่นบูรพาวันนี้
                      2. ตามรอยอารยธรรมแห่งบูรพทิศ 
                      3. แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออก 
                      4. แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี 
                      5. ประวัติศาสตร์โคกพนมดี จังหวัดชลบุรี 
                      6. วิถีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินภาคตะวันออกในยุคประวัติศาสตตร์ก่อนสยามประเทศ
                      7. เมืองโบราณยุคประวัติศาสตร์ที่สำคัญบนดินแดนบูรพทิศ
                      8. เมืองศรีมโหสถ
                      9. อิทธิพล ความเชื่อและศาสนาในเมืองศรีมโหสถ
                    10. ชนต่างวัฒนธรรมในชุมชนภาคตะวันออก
                    11. จิตรกรรมฝาผนัง งานศิลปะอันทรงคุณค่า


4.ภาพยนตร์

                ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของเมืองโบราณศรีมโหสถซึ่งมีให้เลือกเรียนรู้ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีคูน้ำเป็นเขตเมือง มีเทวาลัยพระนารายณ์เป็นสิ่งศักดิ์ที่ชาวเมืองนับถือ ศาสนาที่นับถือคือ ศาสนาพุทธ พราหมณ์และฮินดู



5.ภาพนิ่ง วิทยุ แผ่นเสียง 
                ภาพนิ่งเป็นการนำเสนอในเรื่องวัฒนธรรมชาวชองเป็นภาพลักษณะของชาวชอง บ้านเรือน ห้องนอนซึ่งเป็นภาพนิ่งที่สวยงามและมีคุณค่าอย่างหนึ่งในการศึกษาซึ่งถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจน


6.ทัศนสัญญลักษณ์ 

                ทัศนสัญญลักษณ์นำเสนอแผนที่ภายในหอศิลปวัฒนธรรม เป็นการนำเสนอที่ทำให้ผู้มาเยือนได้รับรู้เข้าใจก่อนที่จะเริ่มเข้าไปภายในห้องนิทรรศการต่างๆทำให้สามารถวางแผนการจัดการในเรื่องต่างๆขณะเข้าไปเยี่ยมชมได้เป็นอย่างดี


7.วจนสัญญลักษณ์

                วัจนสัญลักษณ์มีการนำเสนอโดยมีคำอธิบายเรื่องราวต่างๆในป้ายนิทรรศการและยังมีการบรรยายจากวิทยากรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจนอกเหนือจากคำอธิบายจากสื่อเพราะสามารถตอบคำถามและให้คำแนะนำต่างๆได้เป็นอย่างดี

 


8.ประสบการณ์จริง
                ประสบการณ์จริงเป็นการได้เข้ามาศึกษาวัฒนธรรมด้วยตนเองในสถานที่จริงเป็นการได้ใช้สัมผัสทางตา หู กาย และใช้จิตใจเข้าไปสัมผัสเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของภาคตะวันออกและยังเป็นการหาความรู้ที่คงทนถาวรเนื่องจากได้เข้ามาสัมผัสด้วยตนเอง


9.ตู้อันตรทัศน์
                        ตู้อันตรทัศน์นำเสนอชนต่างวัฒนธรรม 5 วัฒนธรรม คือ ชาวชอง เป็นชนที่นับถือผี มีอาชีพเป็นพรานป่า บ้านเรือนเป็นเครื่องผูก มีภาษาพูดคือ ภาษาเขมรและภาษามอญ หลังบ้านเป็นยุ้งข้าว มีนิสัยใจเย็น ซื่อสัตย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
                ชาวจีนจะอาศัยอยู่ในเมืองหรือชายทะเลมีอาชีพหลักคือการค้าชายซึ่งมีสินค้าคือของป่า ผลผลิตทางการเกษตร ปลาทะเล เป็นต้น





7. ให้นิสิตบันทึกภาพถ่ายกลุ่มของตนเองในการเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการดังกล่าว 



ความประทับใจการจากไปทัศนศึกษาที่หอศิลปะและวัฒนธรรม

          จากการไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ ฉันรู้สึกตื่นตาตื่นใจมาก เพราะนิทรรศการและสิ่งของต่างๆที่จัดแสดง ล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจและมีคุณค่าทั้งนั้น อีกทั้งรูปแบบการจัดนิทรรศการก็สวยงาม น่าเยี่ยมชม สามารถจำลองบรรยากาศต่างๆได้อย่างสมจริง เมื่อเดินเข้าไปแล้วเหมือนได้อยู่ในสถานที่นั้นจริง เช่น บริเวณที่จำลองการขุดค้นทางโบราณคดี บริเวณที่จำลองวาดจิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์ และที่ฉันประทับใจมากที่สุด ก็คือ หุ่นขี้ผึ้งจำลอง ที่ปั้นจำลองรูปคนได้เหมือนมากๆ ตอนแรกที่เดินเข้าไปถึงกับตกใจว่าใครมานั่งอยู่ตรงนี้ แต่พอดูดีๆจึงเห็นว่าเป็นหุ่นจำลองนั่นเอง
           ฉันได้รับทั้งความสนุกสนานเพลิดเพลินและความรู้ไปพร้อมๆกัน