วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Mini Be U You เมื่อ ม.บูรพา กลายเป็นของเล่น

โดย เด็กศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จ้า


ภาพที่เห็นทั้งหมดนี้ถ่ายทำจากสถานที่จริงนะ 
ต่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยนิดหน่อย  
เป็นอย่างไรบ้างเอ่ย สวยงามแค่ไหน


ที่มา : www.youtube.com


วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ใครไม่รักพ่อ ขอให้ดูคลิปนี้

ดูซะ..แล้วคุณจะรู้ว่า .. พ่อ .. รักคุณมากแค่ไหน


บางที  อาจจะไม่มี"พ่อ" ที่ดีที่สุด
แต่มี"พ่อ" ที่รักคุณมากที่สุด


ที่มา : www.youtube.com


วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ไหว้ครูคณะศึกษาศาสตร์


         
          ในตอนบ่ายวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 มีการจัดพิธีไหว้ครู หรือที่เรียกว่า พิธีครุบูชา ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ฉันซึ่งเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ของคณะศึกษาศาสตร์ก็ได้เข้าร่วมพิธีนี้ด้วย
          บรรยากาศพิธีครุบูชามีความศักดิ์สิทธิ์มาก มีคณาจารย์มาร่วมในพิธีมากมายหลายท่าน รวมทั้งนิสิตด้วย พานไหว้ครูของนิสิตแต่ละชั้นปี แต่ละสาขาวิชาก็สวยงามไม่แพ้กัน หลังจากมอบพานไหว้ครูแล้ว ก็มีการมอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตที่มีผลการเรียนดี และช่วยงานคณะ ซึ่งก็มีนิสิตหลายคนที่ได้รับรางวัล เป็นที่น่าชื่นชมยิ่งนัก
          สำหรับความประทับใจมากๆในการไหว้ครูครั้งนี้ ก็คงเป็นการที่ฉันและเพื่อนในเอกได้ร่วมกันทำพานไหว้ครูกันเอง ถึงแม้บางคนจะไม่เคยทำ ทำไม่เป็น ทำไม่สวย แต่พวกเราก็ร่วมแรงร่วมใจกัน จนสำเร็จออกมาในที่สุด เป็นพานไหว้ครูที่สวยงามมากเลยล่ะ 

เพื่อนตัวแทนเอกถือพานไหว้ครู

ฉันเอง ขณะอยู่ในพิธีไหว้ครู


ประสบการณ์ "สอบกลางภาคครั้งแรก" ในรั้วมหาวิทยาลัย

          
          พึ่งจะผ่านไปสดๆร้อนๆสำหรับการสอบกลางภาคครั้งแรกในชีวิตมหาวิทยาลัยของฉัน วิชาเทคโนโลยีการศึกษานี้นี่เอง 
          สำหรับข้อสอบวิชานี้ มีทั้งข้อสอบเลือกตอบ คัดลายมือ แล้วก็เขียนอธิบาย ก็มีทั้งง่ายทั้งยากปนกันไป แต่ที่แน่ๆคือ ได้รู้ล่ะว่าการสอบสมัยมัธยมกับมหาวิทยาลัยนั้นไม่เหมือนกันเลย เพราะว่ามัธยมนั้นเราทำข้อสอบเสร็จแล้วตรวจทานแล้ว ก็ยังเหลือเวลาให้นั่งเล่นนอนเล่นในห้องสอบได้ตามสบาย แต่มหาวิทยาลัยนั้นช่วงเวลาในการคิดคำตอบที่จะกา จะเขียนลงไปนั้นก็มีจำกัด แล้วเราก็ต้องรีบเขียนๆๆ เพราะถึงแม้เรานึกอะไรออกมากมาย แต่ถ้าเขียนไม่ทันมันก็ไม่มีความหมายอะไรเลย
          จากประสบการณ์การสอบกลางภาคครั้งแรก วิชาแรกที่ผ่านมา ทำให้ฉันได้ประสบการณ์ แนวทาง รวมทั้งการปรับตัวในการทำข้อสอบระดับมหาวิทยาลัยมากมาย 



วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความประทับใจในวัน "วิ่งเขาสามมุข"

         

          จะว่าไปแล้ว มันก็อาจจะดูช้าไปหน่อยนะ ที่เราเพิ่งจะมาเล่าความประทับใจในวันวิ่งเขาสามมุขให้ทุกๆคนได้ฟัง แต่ก็เอาเถอะ ไหนๆก็อยากจะเขียนขึ้นมาตอนนี้แล้ว ก็เล่าเลยล่ะกันนะ ^^
          วันที่ 8 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยบูรพา แน่นอนว่า วันที่ 8 นี้ หรือ เหล่านิสิตและคณาจารย์ เรียกว่า วันที่ 8 กรกฎ ต้องมีความพิเศษไม่เหมือนใคร เป็นประเพณีของพวกเราชาวมหาวิทยาลัยบูรพาที่สืบต่อกันมาช้านาน เมื่อถึงวันที่ 8 กรกฎ ก็ต้องเป็นวันประเพณีวิ่งเขาสามมุข ...อยากจะเล่าแล้วล่ะ ว่าความประทับใจในวันวิ่งเขาเป็นอย่างไร ...แต่เดี๋ยวก่อนนะ เนื่องจากเราเป็นนิสิตที่พักอยู่หอของมหาวิทยาลัย หรือที่ใครๆเรียกว่า เด็กหอใน แน่นอนล่ะว่าต้องมีเรื่องเกี่ยวเนื่องกับวันสถาปนามหาวิทยาลัยมาเล่าสู่กันฟัง


          หลังจากที่ได้ฟังรุ่นพี่เล่าๆสืบต่อกันมา เกี่ยวกับเรื่องราวของวันสถาปนามหาวิทยาลัยและเด็กหอใน เขาเล่ากันปากต่อปากมาว่า ในคืนก่อนวันวิ่งเขา หรือก็คือ คืนวันที่ 7 กรกฎ นิสิตหอใน ชั้นปีที่ 1 จะต้องรีบเข้านอนแต่หัวค่ำ เตียงทุกเตียงต้องมีคนนอน แต่ถ้าเตียงว่างหรือเพื่อนร่วมห้องไม่อยู่ต้องหาของมาวางไว้ให้เต็มเตียง ทำให้เหมือนกับว่า เตียงนั้นเต็มแล้ว มีคนนอนแล้ว และที่สำคัญคือ ประตูหน้าห้องต้องติดกระดาษที่เขียนข้อความในทำนองที่ว่า "ห้องนี้เต็มแล้ว ไม่รับคนเพิ่ม" และถ้านอนตอนกลางคืน มีคนมาเรียก มาเคาะประตูห้อง คนในห้องก็ห้ามขานรับ ห้ามเปิดประตูห้องให้ ..ซึ่งฉันก็เป็นหนึ่งในเด็กหอใน ฉันไม่ปฏิเสธหรอกว่าวันนั้นก็ได้ทำตามคำที่รุ่นพี่บอกมา ตอนแรกก็รู้สึกกลัวๆเหมือนกันนะ แต่พอตื่นขึ้นมาแล้วก็ไม่มีอะไร (ดีแล้วล่ะ ที่ไม่มีอะไร ^^)
เตียงนี้ ในคืนที่ 7 กรกฏ ไม่มีเพื่อนนอนล่ะ
          พูดถึงเรื่องตื่นนอน ใช่แล้ว หลังจากคืนวันที่ 7 ก็ต้องเป็นเช้าวันที่ 8 วันนี่แหละ วันที่ 8 กรกฎ วันสถาปนามหาวิทยาลัย และแน่นอนประเพณีที่สำคัญของนิสิตชั้นปีที่ 1 ประเพณีวิ่งเขาสามมุข ...ฉันตื่นนอนเวลาประมาณ 00.30 น. ก็คำนวณเวลานอนเมื่อคืนได้ประมาณ 3 ชั่วโมงล่ะ ก็อาบน้ำแต่งตัว แล้วก็ไปเคาะห้องเพื่อนๆที่อยู่หอเดียวกัน ปลุกเพื่อนไปวิ่งเขา ...ที่คณะศึกษาศาสตร์นัดเวลา 02.00 น. พอถึงเวลาน้องๆปี 1 ก็ไปพร้อมหน้าพร้อมตากัน บางคนก็ดูหน้าตาสดชื่นดีทีเดียว แต่บางคน..ฉันทายว่าคงไม่ได้นอนมาแน่ๆเลย พี่ๆก็มีขนมปังกับนมมาให้น้องๆทาน หลังจากนั้นเวลา ประมาณ 03.30 น. พี่ๆก็พาน้องๆเดินไปขึ้นรถบริเวณหน้าหอประชุม ...ความสนุก และ ประทับใจ มันเริ่มต้นตั้งแต่ตรงนี้แหละ ^^
          พอไปถึงที่ขึ้นรถ พี่ๆก็บอกว่าน้องขึ้นรถคันไหนได้ก็ขึ้นไปเลย เอาล่ะสิ..คราวนี้ตาสว่างเลย ต้องมองหารถคันที่ว่าง แล้วก็เบียดเสียดคนอื่นไปให้ถึงรถ แล้วก็ต้องเรียกเพื่อนๆเอกเดียวกันให้ได้ขึ้นรถคันเดียวกัน เพราะเมื่อไปถึงที่เขาแล้ว จะได้หากันได้ง่ายๆ ...ในที่สุด พวกเราเอกสังคมก็ได้ขึ้นรถคันเดียวกัน รถใช้เวลาวิ่งไม่นานก็ถึงที่หมาย รถไปส่งพวกเราบริเวณตีนเขาสามมุข เวลาตอนนั้น ประมาณ 04.00 น. คณะที่มาก่อนต้องเดินขึ้นไปตั้งแถวด้านบนเขา มาก่อนก็ขึ้นไปสูงหน่อย แต่..วิ่งทีีหลังคณะที่อยู่ตีนเขาล่ะ ^^
          คณะศึกษาศาสตร์ของฉันก็ขึ้นไปด้านบนเขาสูงพอสมควรล่ะ ไปถึงก็รวมเพื่อนๆนั่งเป็นเอก แล้วก็นั่งรอ มีพี่ๆหลีดมะพร้าวมาสร้างความบันเทิงให้ดู หลังจากที่พี่ๆเค้าเหนื่อยกันแล้ว ก็ยังไม่ได้เวลาวิ่ง ..พี่ๆก็เลยบอกให้น้องนอนได้ เท่านั้นแหละ ทุกคนต่างล้มตัวลงนอน เกลื่อนถนนไปหมด ไม่มีใครสนใจหรอกว่าพื้นถนนที่นอนลงไปนั้นมันจะสะอาดไหม ...รวมถึงฉันด้วยล่ะ นอนเหยียดไปกับพื้นถนนเลย(ก็คนมันง่วงนี่นา) เวลาประมาณ 05.30 น. พี่ๆก็ปลุกพวกเราให้เตรียมตัววิ่ง คณะเราออกวิ่งประมาณ 05.30 น. นิดๆ ตอนออกตัวก็ คึกคักค่ะ เพื่อนๆที่เอกของฉันจะมีป้ายคล้องคอขนาดเท่า A4 กันทุกคน หาเพื่อนๆได้ง่ายมากเลยล่ะ เพราะขนาดและสีของป้ายเด่นมาก และก็ยังมีสัญลักษณ์ของเอกอีก เอกของฉัน คือ เอกการสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ...หลายๆคนคงเดาได้ล่ะว่าสัญลักษณ์เอกคืออะไร ใช่แล้ว "ตาลปัตร" นั่นเอง มันเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นมาก ตอนออกตัวประธานเอกก็ชูขึ้นอย่างภาคภูมิใจ แต่พอผ่านไปได้สักพัก ...มันเกิดขึ้นเพียงชั่วพริบตา พี่ๆที่เอกต่างพากันมาแย่ง ตาลปัตร พวกเราปี 1 ก็ต่างช่วยกันปกป้องเต็มที่ เพราะตอนที่พี่ๆให้สัญลักษณ์เอกมา พี่ๆบอกว่าห้ามให้ใครแย่งเอาไปเด็ดขาด ...นั่นแหละเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเราถึงต้องปกป้องตาลปัตรสุดๆ
          เส้นทางวิ่งเขาสามมุขของพวกเรานั้น เมื่อวิ่งลงมาจากเขาแล้วก็วิ่งเลาะเลียบถนนชายหาดบางแสน เหตุการณ์ทุกอย่างดูเหมือนจะเริ่มสงบลงเมื่อเพื่อนวิ่งถือตาลปัตรหนีพี่ๆไปไกลมากๆจนเพื่อนๆที่เอกก็วิ่งตามแทบไม่ทัน แต่เพื่อนก็ไปหยุดรออยู่ข้างหน้า เมื่อรวบรวมเพื่อนได้แล้ว พวกเราก็เริ่มต้นวิ่งอีกครั้ง วิ่งบ้างเดินบ้าง เกาะกลุ่มกันไปโดยมีพี่ๆมาเดินอยู่ด้วย ก็เข้าใจล่ะว่าพี่ๆคอยมาดูแลน้องๆ แต่ก็นะ พี่ๆก็หาโอกาสที่พวกน้องเผลอ จ้องจะแย่งตาลปัตรไปทุกที ...พวกเราปี 1 ก็ต้องคอยสอดส่องกัน เดินกันเป็นเกราะวงกลมเลย ให้เพื่อนประธานเอกถือตาลปัตร เดินอยู่ใจกลางวง แต่บางครั้งพี่ๆก็สามารถฝ่าด่านป้องกันของพวกเราไปได้ ...เฮ้อ เหนื่อยจริง  จริงๆแล้วที่เหนื่อยมากๆนะ ไม่ได้เหนื่อยวิ่งเขาหรอก แต่เหนื่อยตรงที่ต้องคอยระวังพี่ๆ แล้วก็ตอนที่วิ่งหนีพี่ๆกัน แต่ก็สนุกมากๆเลยล่ะ เป็นสีสันได้ดีทีเดียว
          พอใกล้ๆถึงมหาวิทยาลัย พวกเราเอกสังคม ปี 1 ก็เดินแถวเรียงเดี่ยวโยงสายสิญจน์กัน ประธานเอกถือตาลปัตรนำหน้าแถว แล้วก็มีการตะโกน ว่าพวกเราเป็น "ครูสังคม" ไปตลอดทาง สนุกสนานมากจริงๆ เมื่อพวกเรามาถึงมหาวิทยาลัยก็มานั่งรอเพื่อนๆที่คณะให้มาครบ หลังจากนั้นก็วิ่งจับมือกันเข้าเส้นชัยพร้อมกันทั้งคณะ เหยียบ A กระทืบ A กันทุกคน 
          ฉันคิดว่าประเพณีวิ่งเขาสามมุข เป็นประเพณีที่น่าประทับใจมาก ตอนแรกก่อนถึงวันวิ่งก็รู้สึกกังวลนิดๆเหมือนกันว่าจะวิ่งไหวไหม เพราะระยะทางก็หลายกิโลเหมือนกัน แต่พอเอาเข้าจริง ความเหนื่อยนั้น กลับถูก ความสนุกสนานกลบไปจนหมดสิ้น เป็นวันที่สนุกมากจริงๆ

....."ความประทับใจครั้งนี้จะอยู่ในความทรงจำของฉันไม่รู้ลืม"..... 




วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แสดงความคิดเห็น : ประเภทสื่อการสอน

มีการกล่าวถึงความหมายของสื่อการสอน ประเภทวัสดุ ว่าเป็น สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร 


            ตามความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าคำกล่าวนี้ก็อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อเรามองในมุมหนึ่ง แต่ถ้าเราหันมามองอีกมุมหนึ่ง เราก็จะพบว่าสื่อการสอนประเภทวัสดุนั้น มีความจำเป็นในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนได้ง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ถ้ามีการกล่าวว่าสื่อการสอน ประเภทวัสดุ เป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง เราก็อาจจะบอกกลับไปว่า สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลืองนั้น เป็นการสิ้นเปลือง หรือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะทำให้นักเรียนจำนวนมากได้รับความรู้ ได้รับประโยชน์จากสื่อเหล่านั้น เป็นการลงทุนด้านการศึกษาที่ไม่สูญเปล่า อย่างน้อยความสิ้นเปลืองที่ต้องเสียไปนั้น ก็แลกมากับความรู้ ประสบการณ์ที่อยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งในภายหน้าผู้เรียนก็อาจนำความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาสื่อการสอน ประเภทวัสดุ ให้มีสิ้นเปลืองน้อยลงได้ เป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว


กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ


            เป็นการแบ่งสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก Edgar Dale เห็นว่า ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด เข้าใจที่สุด ต้องเริ่มจากการเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรม จึงมีการแบ่งประเภทของสื่อการสอนออกเป็นระดับขั้น 
            โดยเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียนมากที่สุด สิ่งที่เป็นธรรมชาติ ธรรมดา และผู้เรียนสามารถจับต้องได้ ไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวผู้เรียน สิ่งที่มีความซับซ้อน ต้องอาศัยการแปลความ ตีความ เป็นตัวหนังสือ สัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งผู้เรียนไม่สามารถสัมผัสหรือจับต้องได้  
            กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale เป็นสิ่งที่ค่อนข้างตายตัว กล่าวคือ ผู้เรียนต้องมีการเรียนรู้ตามลำดับขั้นไป ถ้าผู้เรียนไม่เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือสิ่งที่ง่ายๆมาก่อน ก็จะไม่สามารถเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม หรือสิ่งที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้เลย


สรุปเนื้อหา : การแบ่งประเภทสื่อการสอน


สื่อการสอน

          สื่อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มี 2 ประเภท ได้แก่

            1. สื่อการศึกษา (Educational Media)  
            2. สื่อการสอน (Instructional Media)  


ความหมายและความสำคัญของสื่อการสอน

การแบ่งประเภทสื่อการสอน

การแบ่งสื่อการสอน ตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อ
การแบ่งสื่อการสอน ตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา


การแบ่งสื่อการสอน ตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ  Edgar Dale

          เดล ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็นระดับขั้น โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภทและได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุด มาสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมที่สุด เรียกว่า กรวยประสบการณ์” (Cone of Experience)  





ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย (Direct or Purposeful Experiences)
            เป็นสื่อที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ หรือ พบเห็นสิ่งนั้นจริงๆ โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การฝึกทำอาหาร การฝึกต่อวงจรไฟฟ้า 

ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived Experience)
            เป็นสื่อที่จำลองสถานการณ์ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมาให้ผู้เรียนได้เรียน อาจเป็นเพราะการเรียนจากของจริงนั้นอันตราย มีความซับซ้อน รวมทั้งมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้แบบจำลอง ของตัวอย่าง การฝึกผ่าตัดด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการณ์หรือการแสดง (Dramatized Experience)
            เป็นสื่อการสอนที่จัดเป็นการแสดงบทบาทสมมุติ หรือการแสดงละคร จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว หรือเป็นนามธรรมซึ่งยากเกินกว่าจะเข้าใจและไม่สามารถใช้ประสบการณ์จำลองได้ เช่น การละเล่นพ้นเมือง ประเพณีต่างๆ

ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) 
            เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูกาแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ เช่น การสาธิตวิธีการใช้เตาอบขนมปัง

ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)
            เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยการพาไปทัศนศึกษา หรือ ท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ผู้เรียนจะได้ความรู้จากการจดบันทึก หรือสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่นั้นๆ

ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibits)
            เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ที่ได้จัดแสดงไว้ในลักษณะของนิทรรศการ หรือการจัดป้ายนิเทศ รวมทั้งการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน เช่น การจัดป้ายนิทรรศการ การจัดแสดงผลงานนักเรียน

ขั้นที่ 7 โทรทัศน์ (Television)
            เป็นการจัดการสอนโดยใช้โทรทัศน์เป็นสื่อที่สำคัญ เป็นการสอนให้ความรู้กับผู้เรียนที่เรียนอยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน โดยอาจเป็นการถ่ายทอดสดหรือบันทึกเทปไว้ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการเห็นภาพและได้ยินเสียง

ขั้นที่ 8 ภาพยนตร์ (Motion Picture)
            เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะของภาพเคลื่อนไหวและเสียงที่บันทึกไว้ในแผ่นฟิล์ม หรือซีดีรอม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนได้เรียนรู้จากภาพและเสียง หรืออาจเป็นภาพอย่างเดียว ถ้าเป็นภาพยนตร์เงียบ

ขั้นที่ 9 แผ่นเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Still Picture)
            เป็นสื่อการสอนที่ที่ผู้เรียนสามารถสัมผัสได้เพียงด้านเดียว แต่สามารถช่วยในเรื่องของผู้เรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกได้ เพราะเป็นการเรียนรู้จากการฟัง รวมทั้งจากมองจากภาพต่างๆ

ขั้นที่ 10 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols)
            เป็นสื่อการสอนที่ใช้งานกราฟิก หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญลักษณ์ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย แต่ทั้งนี้ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาก่อนจึงจะสามารถตีความและเข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆได้ เช่น แผนภูมิ แผนสถิติ แผนที่

ขั้นที่ 11 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol)
            เป็นสื่อการสอนที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับของจริง เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งจะอยู่ในรูปของคำพูด คำบรรยาย ตัวเลข ตัวหนังสือ หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ


ตัวอย่างสื่อการสอน

การสอนภาษาอังกฤษ โครงสร้างของร่างกาย


ซิทคอมการประหยัดพลังงาน



แหล่งอ้างอิง : 
http://www.youtube.com
http://www.gotoknow.org/media/files/718527


วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รู้ไหมว่า " TEACHERS " คำนี้ มีความหมายมากว่าแค่คำศัพท์ธรรมดา



T = Teaching   
       หมายถึง ครูทำหน้าที่สอนและถ่ายทอดความรู้

E = Ethic         
       หมายถึง ครูเป็นผู้มีคุณธรรม มีเมตตาธรรมประจำใจ

A = Academic 
       หมายถึง ครูที่เป็นนักวิชาการที่มีความรอบรู้และใฝ่หาความรู้อยู่เป็นนิจ

C = Cultural Heritage   
       หมายถึง ครูเป็นผู้รู้คุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ   และทำหน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าวไปสู่คนรุ่นหลัง

H = Human Relationship   
       หมายถึง ครูเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเป็นผู้มีสุขภาพที่ดี

E = Evaluation   
       หมายถึง ครูคือผู้รู้และเข้าใจเรื่องการวัดและประเมินผลเป็นอย่างดี เพราะการวัดและประเมินผลนั้น ครูต้องใช้อยู่ตลอดเวลาในกระบวนการเรียนการสอน

R = Research
       หมายถึง ครูคือผู้ค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ และสามารถนำผลวิจัยที่ผู้อื่นทำไว้แล้วไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

S = Service 
       หมายถึง ครูคือผู้ให้บริการด้านอื่นนอกเหนือจากการสอน เช่น บริการแนะแนว บริการด้านสวัสดิการในโรงเรียน รวมถึงการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนอีกด้วย


ที่มาบทความ : หนังสือสารัตถะจิตวิทยาการศึกษา รศ.ดร.ประสาท อิศรปรีดา 


วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เคยเห็นกันหรือเปล่า "ลาวาสีคราม"

ลาวาสีคราม จากภูเขาไฟ Kawah-ljen


        Lava ลาวา คือ หินหลอมเหลว ที่ถูกปลดปล่อย หรือเคลื่อนสู่ผิวโลก ซึ่งธรรมดามันก็จะมีสีแดง แต่ ธรรมชาติทำให้เราประหลาดใจได้เสมอกับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ลาวาสีคราม

        ภาพที่เห็นทั้งหมดในบทความนี้เป็นภาพจาก ภูเขาไฟ Kawah-Ijen ในประเทศอินโดนีเซีย ที่เกิดขึ้นในปี 2008 และ 2005 ปรากฏการณ์นี้จะสามารถเห็นได้เด่นชัดในคืนเดือนมืดปรากฏการณ์ธรรมชาติ นี้เกิดจากกำมะถันที่หลอมละลาย จากความร้อน จะปลดปล่อยเปลวเพลิงสีฟ้าสดออกมา ยิ่งในสภาพที่มีออกซิเจนสูงจะยิ่ง เห็นเปลวเพลิงสีฟ้าได้เด่นชัดขึ้น

ลาวาสีคราม ที่ไหลลงมาตามลาดภูเขาไฟ Kawah-Ijen

เห็นเป็นสีครามสวยงามเช่นนี้ แต่พวกมันมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 444.6 องศาเซลเซียส

ช่างเป็นความงามที่น่าสะพรึงยิ่งนัก

ยิ่งซูมเข้าไปดูไกล้ จะเห็นเป็นเปลวเพลิงสีฟ้าสดอยางชัดเจน

เมื่อลาวาสีคราม เย็นตัวลงก็จะกลายเป็น กำมะถันสีเหลืองสด กลิ่นฉุน ทำให้ ภูเขา Kawah-Ijen เป็นเหมืองกำมะถัน


ที่มาบทความ : http://www.unigang.com/Article/7539


วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ได้ดูกันหรือยัง..ที่สุดของความภาคภูมิใจ

การนำเสนอและโหวตชื่อรุ่น ประจำรุ่นที่ 57 มหาวิทยาลัยบูรพา

การแสดงประกอบชื่อรุ่น คณะศึกษาศาสตร์ 1 

การแสดงประกอบชื่อรุ่น คณะศึกษาศาสตร์ 2

ประกาศผลชื่อรุ่นที่ 57 มหาวิทยาลัยบูรพา

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ว่าที่ "ครู" ในอนาคตทั้งหลาย เมื่อคุณได้ฟังเพลงนี้ คุณ..รู้สึกอย่างไร


โรงเรียนของหนู


            ยังมีเด็กๆที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดารจำนวนมาก ที่รอคอย "ครู" รอคอย "การศึกษา" เพื่อที่จะทำให้ชีวิตและอนาคตของเขาดีขึ้นและสวยงาม  เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม และอีก 5 ปีข้างหน้า เหล่านิสิตครูทั้งหลายจะได้ก้าวเดินออกจากรั้วมหาวิทยาลัย ไปมอบความรู้ ความฝัน และอนาคต ให้กับเด็กๆทั่วแผ่นดิน ..แล้วคุณล่ะ พร้อมหรือยัง!!

    เพ(ร)าะความเป็น"ครู" มีอยู่เต็มแผ่นดิน


บันทึกครั้งที่ 2 : ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน


เทคโนโลยีการศึกษา



            เมื่อพูดถึง คำว่า “เทคโนโลยี” คนเราเกือบทั้งหมดก็คงจะนึกถึงอุปกรณ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับคำว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” ก็เช่นกัน เมื่อพูดถึงคำนี้ ทุกคนก็ต้องนึกถึงคอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ ระบบการเรียนการสอนทาง E-Learning หรือการเรียนผ่านทางดาวเทียม เป็นส่วนใหญ่ แต่ความจริงแล้ว “เทคโนโลยีการศึกษา” ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆเพียงอย่างเดียว อุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆก็ถือเป็นเทคโนโลยีการศึกษา เช่น กระดานดำ ชอล์ก ดินสอ ปากกา ไมโครโฟน ลำโพง รวมทั้งวิธีการต่างๆในการเรียนการสอนด้วย ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงหมายถึงการนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาคิดค้น ผลิต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้กับการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการศึกษานั้น
          
              หัวใจของเทคโนโลยีการศึกษาคือ ทำให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา



พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา



ภาระงานของเทคโนโลยีการศึกษา


·       เทคโนโลยีการศึกษาในระดับผู้ปฎิบัติ

·       เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็น นักออกแบบ นักจัดระบบ

·       เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริหาร



·       เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือทางวิชาการ มี 2 รูปแบบ



·       เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริการทางวิชาการ

_______________

วิธีระบบ

ความหมายของระบ

            ระบบ คือ ภาพรวมของหน่วยสมบูรณ์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เป็นอิสระ แต่มีความสัมพันธ์ และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน

ระบบจะต้องมี

1.    องค์ประกอบย่อย

2.    องค์ประกอบย่อยนั้นต้องมีความสัมพันธ์กัน มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

3.    ระบบต้องมีเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมนั้น

4.    กลไกการควบคุมเพื่อให้ทำงานตามจุดมุ่งหมาย

การทำงานของระบบ

ลักษณะของระบบที่ดี


1.    มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Interact with environment)

2.    มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย (Purpose)

3.    มีการรักษาสภาพตนเอง (Self-regulation)

4.    มีการแก้ไขตนเอง (Self-correction)



วิธีระบบ (Systems approach)

            เป็นการวางแผนระบบใหม่หรือพัฒนาระบบให้ดีขึ้นหลังการวิเคราะห์ระบบแล้ว โดยกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสม จัดวางปรัชญา ปณิธาน จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ ภารกิจ ปฏิสัมพันธ์ ปัจจัยเกื้อหนุน และการประเมินเพื่อประสิทธิภาพของงาน


กระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีระบ

การพัฒนาระบบ




กรอบแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาการสอน




รูปแบบหลักของระบบการสอน


ขั้นตอนสำคัญของการออกแบบและพัฒนาการสอน


ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

            “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน


ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษา
       -   นวัตกรรมการศึกษาด้านหลักสูตร




       -   นวัตกรรมการเรียนการสอน

           เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน


       -   นวัตกรรมสื่อการสอน

              เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์




       -   นวัตกรรมด้านการประเมินผลการศึกษา

          เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์   



       -   นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ

          เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

          นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง





ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา




_______________


การสื่อสารและทฤษฎีการสื่อสาร



ความหมายของการสื่อสาร

       เป็นกระบวนการถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น  ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยใช้สื่อหรือช่องทาง

ความสำคัญของการสื่อสาร

        มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social  Animals) จึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน


ลักษณะของการสื่อสาร


องค์ประกอบของการสื่อสาร



อุปสรรคของการสื่อสาร


_______________


เว็บบล็อก (Webblog)

            Webblog เปรียบเสมือนห้องสมุดชาวบ้าน คือ เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ผู้คนสามารถเขียนอะไรก็ได้ตามความต้องการ เช่น เหตุการณ์ในแต่ละวัน ความประทับใจ ปัญหา อุปสรรค รวมทั้ง แนวความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ โดยสร้างเป็นบล็อกของตนเองฝากบทความเหล่านั้นไว้บนหน้าเว็บ เมื่อผู้อื่นเข้ามาในบล็อกของเรา เขาก็สามารถที่จะอ่านบทความของเราและเขียนแสดงความคิดเห็นลงในบล็อกได้
            เจ้าของบล็อก เรียกว่า Web blogger ซึ่ง Web blogger สามารถที่จะออกแบบบล็อกของตนได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบ ลวดลาย สีสัน หรือแบบอักษรต่างๆ รวมทั้งสามารถใส่ไฟล์ภาพ วีดีโอ หรือ เพลง ลงในบล็อกได้

ประโยชน์ของ Webblog 

            1. เป็นพื้นที่สาธารณะทางโลกออนไลน์ที่เปิดโอการให้ผู้คนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
            
            2. เป็นพื้นที่แบ่งปันความคิดเห็น การให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือ แบบพี่สอนน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน
           
            3. ผู้คนที่ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้นามแฝง ทำให้คนสามารถเปิดเผยความเป็นตัวตนได้มากขึ้น

           
            4. อาจทำให้คนเข้าใจกันมากขึ้น

         
            5. สามารถรับรู้ข่าวสาร ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อื่นที่อยู่ต่างที่ ต่างเวลากันได้


_______________