วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 2 : ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน


เทคโนโลยีการศึกษา



            เมื่อพูดถึง คำว่า “เทคโนโลยี” คนเราเกือบทั้งหมดก็คงจะนึกถึงอุปกรณ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับคำว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” ก็เช่นกัน เมื่อพูดถึงคำนี้ ทุกคนก็ต้องนึกถึงคอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ ระบบการเรียนการสอนทาง E-Learning หรือการเรียนผ่านทางดาวเทียม เป็นส่วนใหญ่ แต่ความจริงแล้ว “เทคโนโลยีการศึกษา” ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆเพียงอย่างเดียว อุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆก็ถือเป็นเทคโนโลยีการศึกษา เช่น กระดานดำ ชอล์ก ดินสอ ปากกา ไมโครโฟน ลำโพง รวมทั้งวิธีการต่างๆในการเรียนการสอนด้วย ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงหมายถึงการนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาคิดค้น ผลิต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้กับการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการศึกษานั้น
          
              หัวใจของเทคโนโลยีการศึกษาคือ ทำให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา



พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา



ภาระงานของเทคโนโลยีการศึกษา


·       เทคโนโลยีการศึกษาในระดับผู้ปฎิบัติ

·       เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็น นักออกแบบ นักจัดระบบ

·       เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริหาร



·       เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือทางวิชาการ มี 2 รูปแบบ



·       เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริการทางวิชาการ

_______________

วิธีระบบ

ความหมายของระบ

            ระบบ คือ ภาพรวมของหน่วยสมบูรณ์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เป็นอิสระ แต่มีความสัมพันธ์ และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน

ระบบจะต้องมี

1.    องค์ประกอบย่อย

2.    องค์ประกอบย่อยนั้นต้องมีความสัมพันธ์กัน มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

3.    ระบบต้องมีเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมนั้น

4.    กลไกการควบคุมเพื่อให้ทำงานตามจุดมุ่งหมาย

การทำงานของระบบ

ลักษณะของระบบที่ดี


1.    มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Interact with environment)

2.    มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย (Purpose)

3.    มีการรักษาสภาพตนเอง (Self-regulation)

4.    มีการแก้ไขตนเอง (Self-correction)



วิธีระบบ (Systems approach)

            เป็นการวางแผนระบบใหม่หรือพัฒนาระบบให้ดีขึ้นหลังการวิเคราะห์ระบบแล้ว โดยกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสม จัดวางปรัชญา ปณิธาน จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ ภารกิจ ปฏิสัมพันธ์ ปัจจัยเกื้อหนุน และการประเมินเพื่อประสิทธิภาพของงาน


กระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีระบ

การพัฒนาระบบ




กรอบแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาการสอน




รูปแบบหลักของระบบการสอน


ขั้นตอนสำคัญของการออกแบบและพัฒนาการสอน


ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

            “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน


ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษา
       -   นวัตกรรมการศึกษาด้านหลักสูตร




       -   นวัตกรรมการเรียนการสอน

           เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน


       -   นวัตกรรมสื่อการสอน

              เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์




       -   นวัตกรรมด้านการประเมินผลการศึกษา

          เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์   



       -   นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ

          เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

          นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง





ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา




_______________


การสื่อสารและทฤษฎีการสื่อสาร



ความหมายของการสื่อสาร

       เป็นกระบวนการถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น  ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยใช้สื่อหรือช่องทาง

ความสำคัญของการสื่อสาร

        มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social  Animals) จึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน


ลักษณะของการสื่อสาร


องค์ประกอบของการสื่อสาร



อุปสรรคของการสื่อสาร


_______________


เว็บบล็อก (Webblog)

            Webblog เปรียบเสมือนห้องสมุดชาวบ้าน คือ เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ผู้คนสามารถเขียนอะไรก็ได้ตามความต้องการ เช่น เหตุการณ์ในแต่ละวัน ความประทับใจ ปัญหา อุปสรรค รวมทั้ง แนวความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ โดยสร้างเป็นบล็อกของตนเองฝากบทความเหล่านั้นไว้บนหน้าเว็บ เมื่อผู้อื่นเข้ามาในบล็อกของเรา เขาก็สามารถที่จะอ่านบทความของเราและเขียนแสดงความคิดเห็นลงในบล็อกได้
            เจ้าของบล็อก เรียกว่า Web blogger ซึ่ง Web blogger สามารถที่จะออกแบบบล็อกของตนได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบ ลวดลาย สีสัน หรือแบบอักษรต่างๆ รวมทั้งสามารถใส่ไฟล์ภาพ วีดีโอ หรือ เพลง ลงในบล็อกได้

ประโยชน์ของ Webblog 

            1. เป็นพื้นที่สาธารณะทางโลกออนไลน์ที่เปิดโอการให้ผู้คนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
            
            2. เป็นพื้นที่แบ่งปันความคิดเห็น การให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือ แบบพี่สอนน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน
           
            3. ผู้คนที่ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้นามแฝง ทำให้คนสามารถเปิดเผยความเป็นตัวตนได้มากขึ้น

           
            4. อาจทำให้คนเข้าใจกันมากขึ้น

         
            5. สามารถรับรู้ข่าวสาร ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อื่นที่อยู่ต่างที่ ต่างเวลากันได้


_______________


1 ความคิดเห็น: